วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

มอง 4 สภาวะตลาดผ่านElliott Wave บทนำ


บทความของคุณ วุฒิชัย อินทร์สว่าง


คําชี้แจง

         สวัสดีเพื่อนๆนักลงทุนทุกท่านครับ หลายปีก่อนผมได้นําเสนอทฤษฏี 4 สภาวะตลาดไปซึ่งเป็นการพูดถึงลําดับขั้นของแนวโน้มอันประกอบด้วย
       1.เริ่มต้นแนวโน้มหรือตั้ง Trend
       2.มีแนวโน้มหรือแนวโน้มแข็งแกร่ง
       3.แนวโน้มแสดง

         สภาวะตลาดที่ผมได้เคยนําเสนอไปนั้นเป็นแนวคิดที่สามารถมองได้จากหลากหลายมุมทั้งTechnical และ Fundamental เพราะเหตุที่ยังเป็นแนวคิด (Concept) มันจึงต้องผ่านกระบวนการสังเคราะห์เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวคิดขึ้นมา  หลายท่านนําแนวคิดดังกล่าวเป็นแกนในการตั้งสมมติฐานโดยผ่านมุมมองตามที่แต่ละคนถนัดแพิสูจน์ออกมาจนกลายเป็นระบบการวิเคราะห์ราคาในแบบต่างๆ

         สําหรับหนังสือเล่มนี้ผมขอนําเสนอมุมที่มองจาก Elliott Wave บ้าง ซึ่งอันที่จริงแล้วแนวคิด 4 สภาวะตลาดนี้ผมสร้างมันขึ้นมาจากทฤษฏี Elliott Wave ตั้งแต่ต้น แต่ไม่ได้สังเคราะห์ออกมาเป็นวิธีการให้จับต้องได้ หนังสือเล้มนี้จึงเป็นเสมือนการเติ้มเต็มหรือ Jigsaw Puzzle อีกชิ้นที่ขาดหายไปการใช้หนังสือเล่มนี้ผู้ใช้จําเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องทฤษฏี Elliot Wave เป็นอย่างดีทั้ง กฎ รูปแบบข้อยกเว้น Relationships และการตรวจสอบ การใช้งานหนังสือเล่มนี้โดยขาดความรู้ในสายแกนหลัก (ElliottWave) ผมไม่อาจรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แต่หากผู้ที่มีความรู้ Elliott Wave ดีอยู่แล้วหนังสือเล่มนี้จะเป็นอีกหนึ่งแผนที่และเข็มทิศที่จะช่วยนําทางให้ท่านเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างแน่นอนครับ



วุฒิชัย อินทร์สว่าง



สภาวะตลาด

สภาวะแยกได้เป็น 4 ช่วงดังนี้

1. เริ่มต้นแนวโน้ม สภาวะนี้ยังไม่มีใครบอกได้ว้าจะเกิดแนวโน้มใหม่จริงๆหรือไม่ เพียงให้สันนิษฐานว่าแนวโน้มเก่าจบไป
แล้วและกําลังเริ่มต้นแนวโน้มใหม่เท่านั้น สิ่งที่ต้องทําสําหรับสภาวะนี้คือ "รอ" ถ้าใครที่ไม่รอสังเกตว่าช่วงนี้จะเล่นกันได้ทั้ง
Long และ Short และจะได้ๆเสียๆสลับกันไป

2. แนวโน้มชัดเจนและแข็งแกร่ง สภาวะนี้เป็นผลและถูกขับดันมาจากข้อ 1 คือมีแนวโน้มจริงหรือไม่ ถ้ามีแข็งแกร่งหรือไม่
ดูได้จากสภาวะเริ่มต้นแนวโน้ม สิ่งที่ต้องทําคือ ตักตวงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยเทรดตามแนวโน้มเท่านั้น ช่วงนี้ส่วน
ใหญ่จะเล่นไปทางเดียวกันทั้งหมด มักไม่ค่อยพลาดจะกํารี่กําไรกันซะส่วนใหญ่

3. ช่วงแสดงท่าทีหมดแนวโน้ม (แนวโน้มอ่อนแอ) ก่อนที่แนวโน้มนั้นๆจะหมดเพื่อเปลี่ยนแนวโน้ม (หรือเกิดการปรับฐาน
ครั้งใหญ่เพื่อวิ่งไปในทิศทางเดิม) จะเกิดรูปแบบการเตือนล่วงหน้า (ไม่ใช่นึกจะเปลี่ยนก็เปลี่ยน) เมื่อเตือนแล้วราคาจะวิ่ง
ไปในทิศทางเดิมต่อไปได้อีกสักระยะ นักลงทุนบางส่วนจะยังคงเชื่อว่าแนวโน้มยังมีอยู่จึงลงทุนในแนวโน้มเดิมอย่าง
ต่อเนื่องและบางส่วนก็เพิ่งจะเชื่อว่ามีแนวโน้มเกิดขึ้นจริงๆจึงเริ่มที่จะเข้าตลาดโดยหารู้ไม่ว่าช้าไปเสียแล้วเพราะตลาด
กําลังจะหมดแนวโน้มและอาจเปลี่ยนทิศทางในไม่ช้า ส่วนนักลงทุนที่เริ่มเฉลียวใจจะหยุดดูอยู่นอกตลาดรอการ
เปลี่ยนแปลงเท่านั้น สังเกตว่าช่วงนี้แมงเม่ายังเริงร่ากันอยู่

4. ช่วงเปลี่ยนแนวโน้ม (แนวโน้มเดิมจบลง) ช่วงนี้แมงเม่าจะยังคงเชื่อเช่นกันว่าแนวโน้มเดิมยังมีอยู่ ถึงแม้ว่าจะเสีย
ติดๆกันหลาย Order ก็ยังคงเข้าซื้อขายตามแนวโน้มเดิมอยู่ สังเกตว่าช่วงนี้แมงเม่าจะ Draw Down กันซะส่วนใหญ่
บางส่วนที่เล่นแบบ Trend Follow แบบไม่นิยมตั้ง SL ก็จะโดนลากมา Margin Call พวกหลังนี่หนักหน่อยเพราะได้กําไร
แบบเต็มๆโดยไม่ปิดลบสัก Order จากสภาวะที่ 3 ความมั่นใจจึงเกินร้อย (ย่ามใจ) ส่วนนักลงทุนที่เข้าใจและมองเห็น
สภาวะจะหยุดรอเท่านั้น

5. เริ่มต้นที่สภาวะที่ 1 ใหม่
จะสังเกตได้ว่าป็นหาหลักๆมี 2 ข้อ คือ 1.ไม่รู้จักและไม่เข้าใจในสภาวะของตลาด 2.ไม่รู้จักรอกลัวไม่ได้เทรด ซึ่งจังหวะ
ของการเข้าตลาดนั้นมีเพียง 1 จังหวะจาก 4 จังหวะเท่านั้นเอง นักลงทุนที่ประสบความสําเร็จส่วนใหญ่จึงใช่เวลาในการ
วางแผน วิเคราะห์ และศึกษา มากกว่าเวลาในการเปิดสถานะซื้อ-ขายหลายสิบเท่าตัว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


The Forex Quotes are Powered by Investing.com - The Leading Financial Portal.