วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Leverage คืออะไร

ความหมายง่ายๆของ เลเวอเรจ (Leverage) คือ จำนวนเปอร์เซนที่ได้ยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อทำการเปิดออเดอร์เทรด ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณซื้อ 100 หุ้นในตลาดหุ้นโดยที่ราคาหุ้นละ 10 $ ต่อหุ้น คุณต้องใช้เงิน 1000$ เพื่อเปิดการเทรด บางโบรกเกอร์ให้คุณยืมเงินเพื่อเทรดสูงถึง 50-80% ของมูลค่าหุ้นทั้งหมด แทนที่คุณจะใช้เงิน 1000$ แต่คุณกลับใช้แค่ 500 $ เท่านั้น เพื่อทำการเทรด สิ่งนี้แหระที่ทำให้เทรดเดอร์สามารถซื้อหุ้นได้มาก โดยใช้เงินเท่าเดิม อย่างไรก็ตามทางโบรกเกอร์ก็จะชาร์จกำไรจากการยืมของคุณ หลักการณ์นี้ก็น้ำมาใช้กับตลาดForex

แต่โบรกเกอร์ฟอเร็กให้คุณยืมถึง 99 % ของทั้งหมดเพื่อให้คุณเปิดการเทรดและคุณก็ใช้มันเพียงแค่ 1 % เท่านั้น ถ้าคุณต้องการเทรด 1000$ คุณใช้มันเพียงแค่ 10 $ นี่แหระครับ คือความแตกต่างระหว่างตลาดหุ้นและตลาดฟอเร็กซ์ และตลาดฟอเร็กไม่ชาร์จกำไรจากการยืมของคุณด้วย
 
เอาล่ะครับ หลายๆคนอาจจะงง เรามาดูกันเลยครับ ว่า Leverage ที่โบรกเกอร์ฟอเร็กได้กำหนดไว้มีเท่าไรบ้าง
โดยส่วนมากโบรกเกอร์จะกำหนด Leverage ตั้งแต่
Leverage              
1:1
1:2
1:10
1:100
1:200
1:400
1:500
1:1000 เฉพาะบางโบรกเกอร์ เท่านั้นเช่นโบรก Exness และ Instaforex 
ผมจะยกตัวอย่างการเทรดที่ Leverage 1:100
สมมติว่าผมต้องการซื้อ EUR ที่ 100 units ผมจะใช้เงินของผม 1  units เท่านั้นเพื่อซื้อ EUR 100 units  ถ้าซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.2750  เมื่อราคาขึ้นไปถึง 1.2800 ผลต่างของราคาเท่ากับ 50 pips  ผมพอใจแล้ว ก็ทำการขาย ผมได้กำไร 50 pips

มาดูตัวอย่างการคำนวณครับ จากหัวข้อ เรื่อง Pips และ Lot  ใครยังไม่ได้อ่านกลับไปอ่านนะครับ
(pip value / ราคาที่คุณปิด ) คูณด้วย Unit ที่คุณทำการ Buy Sell
=(0.001/1.2800)*100=0.39 $
หรือผมอาจจะคิดแบบนี้ สมมติว่า ผมต้องการซื้อ EUR ที่อัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน EUR/USD =1.2750 เป็นจำนวน 100 $ ผมจึงใช้เงินของผม 1 $ บัญชีของผมเป็น Leverage 1:100 ดังนั้นผมต้องยืมโบรกเกอร์อีก 99$  เมื่อผมซื้อแล้ว ผมจะได้ EUR มา 78.43 Euro และเมื่อราคาขึ้นไป 1.2800 ผมได้ กำไร 50 pips ผมตัดสินใจขายยูโร ที่ผมซื้อมา จะได้ 78.43*1.2800=100.39 $  นี่คือกำไรของผม
100.39 $ แต่ผมได้ยืมโบรกเกอร์มา 99 $ ทางโบรกเกอร์จะหักเงินอัตโนมัติ แล้วที่เหลือก็คือ 1.39 $ สรุปคือ ถ้าได้กำไรมา 0.39 $ จากการเทรดเงิน 1 $ เมื่อราคาเคลื่อนที่ 50 pips

แต่ปัจจุบันนี้ ทางโบรกเกอร์กำหนดให้เราแล้ว ว่า ถ้าราคาเคลื่อนที่ไป 1 pip ถ้าเราซื้อ 1 $ เราจะได้ 0.01 $ ดังนั้นจากตัวอย่างข้างบน ได้มา 50 pips ผมจะได้เงิน 0.50$

Use Margin คือ จำนวนเงินที่เราใช้เทรดในแต่ละครั้ง

ความสัมพันธ์ระหว่าง Lot , Leverage  และ Use Margin 
ประเภทของบัญชีในการเทรด Forex จะมีอยู่หลายประเภท แต่ที่หลักๆ ที่ใช้กันคือมีสามประเภทคือ
1.Standard Account
2.Mini Account
3.Micro Account
ผมจะเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง Lot , Leverage และ Use Margin ของ บัญชี Standard นะครับ

                                                                                                                                                                  
            Leverage            ความต้องการเทรด            Use Margin
            1:100            1 lot(100,000$)            1000$
            1:200            1 lot(100,000$)            500$
            1:400            1 lot(100,000$)            250$

การเทรด 1 Lot คือ การใช้ Use Margin 1000 ดอลล่า เพื่อที่จะเทรดฟอเร็กซ์ โดยใช้ Leverage 1:100  หมายความว่า คุณต้องมีเงินในบัญชีเทรดฟอเร็กซ์มากกว่า 1000 $ คุณจึงจะเทรดที่ 1 Lot ได้ และการเปลี่ยนแปลงต่อจุด ถ้าราคาเคลื่อนที่ไป 1 pips จะเท่ากับ 10 $  เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมีเงินแค่ 1000 $ แล้วคุณปล่อยให้ลบ 100 pips บัญชีของคุณก็จะโดน Margin Call ทันที ถ้าคุณไม่มี Margin โบรกเกอร์ก็จะตัดทันที
Leverage 1 :200 สิ่งที่แตกต่างของ Leverage 1:200 คือ จำนวนเงินที่ใช้เทรด Use Margin จะน้อยกว่า 1:100 แต่ การเปลี่ยนแปลงต่อ 1 pip เท่ากับ 10 $ เหมือนกัน
ไม่ว่าคุณจะเล่นที่ Leverage เท่าไร การเปลี่ยนแปลงต่อ 1 pips ก็ยังคงเท่าเดิม
ซึ่งตอนนี้บางโบรกเกอร์ สร้าง Leverage  สูงๆ ขึ้นมาเพื่อให้พวก Scalper ที่เล่นสั้นๆ ลงเงินเยอะๆ อย่างเช่น  Loeverage 1:1000 ถ้าคุณมีเงิน 1000 $ ในบัญชี คุณสามารถเทรด 5 Lot ได้ ซึ่งก็หมายความว่า คุณต้องการให้ได้กำไร 50 $ ต่อ pips แต่ถ้าราคาไม่เป็นดังที่คุณต้องการ ราคาลบไป 20 pips
พอร์ตของคุณก็จะเกลี้ยงทันที

ที่มา : thaiforexschool

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มอง 4 สภาวะตลาดผ่านElliott Wave ตอน 4



วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Pending Order คืออะไร

คำว่า Pending Order ผมขอทับศัพท์เลยละกันนะครับ ไม่ขอเขียนเป็นคำไทย เด๋วราชบัญฑิตให้ผมแก้ ถึงกับซวยเลย   Pending Order คือ ประเภทคำสั่งที่เราใช้เพื่อเข้าออเดอร์ แต่ไม่ใช้ ณ เวลานี้ (Marketหรือ Instant Executed) โดยประเภทของคำสั่งในโบรกเกอร์ มีหลายประเภทมาก แต่เราก็นิยมใช้กันก็คือ Instant Execution ถ้าให้ผมแปลก็คือ เข้าทันที ทันใด ณ ราคา ขณะนั้นเลย หรือภาษาบ้านๆผมก็คือ เข้าแมร่งเลย 555+  หรือบางโบรกเกอร์ อาจจะใช้คำว่า Market  อีกคำสั่งนึงที่เป็นหัวข้อของเราในวันนี้ก็คือ Pending Order ก็คือ รอเข้าในราคาที่เราคิดว่า มันจะ... ลงมาถึง  ... ขึ้นไปถึง ... ทะลุไปแล้วชน แล้ววิ่งฉลุยไปเลย หรือปะสาอังกิตหน่อย (เขียนผิดนิดนึง 555 ตั้งใจๆ ) Breakout แล้วไปเลย เป็นต้น . หรือที่ผมพูดบ่อยๆ มรึงจะรีบเข้าไปไหน รอราคามันไปถึงตรงนั้นก่อน ค่อย Buy Limit หรือ ตั้ง Sell limit สวนมันเลย  ..



คำสั่ง Pending Order มันมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1.คำสั่ง Limit  (อ่านว่า ลีหมิด นะครับ ไม่ใช่ ลิมิต พลาดพิงนิดนึง ) คำสั่ง Limit คือ คำสั่งที่ใช้ตั้งสวนราคา แปลง่ายๆเลยละกัน มีสองประเภท

 1.1 Buy Limit  เราจะใช้ก็ต่อเมื่อ ราคามันลง ๆๆ ลงมาเรื่อยๆ เราหาแนวรับได้แล้ว ประมาณว่า เราจะรับซื้อที่ราคานี้แหระ ก็ใช้คำสั่ง Buy Limit ได้เลยในขณะที่ราคายังไม่ถึง และอีกกรณี คือ เราเห็นราคามันขึ้น ขึ้นไปเรื่อยๆ แต่เราเข้าไม่ทันละ เราต้องคิดว่า ราคามันไม่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มันต้องย่อ ก็หาราคาที่มันจะย่อ หรือหาราคาที่จะพักตัวนั่นเอง เพื่อที่จะเข้าออเดอร์ เมื่อหาราคาย่อได้แล้ว ก็ใช้คำสั่ง Buy Limit ทันที


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่ 1 : คำสั่ง Buy Limit คลิกทีรูปเพื่อขยาย



 1.2 Sell limit  ตรงข้ามกับหัวข้อ 1.1 เลยครับ มองกลับกัน หากเราคิดว่า ราคามันขึ้นมาถึงจุดนี้ ซึ่งเป็นแนวต้าน มันเด้งลงแน่นอน เราก็ใช้คำสั่ง Sell limit ตั้งรอมันเลย อีกกรณี กราฟเป็นขาลงอยู่ ก็ต้องคิดว่า มันคงไม่ลงอย่างเดียว มันต้องขึ้นพักตัวบ้างสิ เราก็หาราคาที่กราฟเด้งพักตัว พอหาเจอแล้ว ก็ใส่คำสั่ง Sell Stop  ได้เลยครับ


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่2 : คำสั่ง Sell Limit คลิกที่รูปเพื่อขยาย





2.คำสั่ง  Stop  คำสั่ง Stop คือ คำสั่งที่ใช้ตามราคา ตามเทรน  อธิบายความหมายอาจจะไม่เข้าใจ มาดูเลยละกัน มีสองประเภท เหมือนกันครับ

 2.1 Buy Stop เราจะใช้คำสั่งนี้ก็ต่อเมื่อ  กรณีแรก เราเห็นราคามันลงๆ ลงมาๆเรื่อยๆ ที่นี้เราจะรอเข้า แต่ราคามันต้องสร้าง Uptrend ก่อน ก็คือ จุดต่ำสุดยกตัวสูงขึ้น จุดสูงสุดก็ยกตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อเรารู้ว่า มันเริ่มยกตัวสูงขึ้นแล้ว ก็ใช้จุดสูงสุดแรก เป็นจุดเข้า  Buy โดยตั้งสมมติฐานไว้ว่า ถ้าราคาทะลุ High แรกไป ออเดอร์ของเราจะเปิดทันที เราก็ตั้ง Buy Stop ไว้ที่ราคา High แรกเลย


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่3:Buy Stop คลิกที่รูปเพื่อขยาย 



 กรณีที่สอง เราเห็นกราฟขึ้นมาสร้างจุดสูงสุด แล้วมันย่อตัวลงไปพักตัว แต่เราคิดว่า ราคามันต้องขึ้นไปต่อแน่นอน เราก็ไปตั้ง Buy Stop ไว้ที่ตำแหน่ง High ถ้าราคาขึ้นมา ออเดอร์ของเราก็จะเปิดทันที

 2.2 Sell Stop คำสั่งนี้ก็ตรงข้ามกับหัวข้อ 2.1 ถ้าเราคิดว่า ราคาจะ Breakout Low เดิม ก็ใช้คำสั่ง Sell Stop ตั้งไว้ที่ Low เดิมได้เลย


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่ 4: Sell Stop คลิกที่รูปเพื่อขยาย 





Note : คำสั่ง Stop โดยส่วนใหญ่จะใช้คำสั่งนี้เพื่อเทรดแบบรอราคาทะลุ (Breakout Trading )



นอกจากนี้เรายังสามารถ แก้ไขออเดอร์ที่เราได้ตั้งไว้ (Pending Order) สามารถแก้ได้ทั้งราคาที่จะเข้า (Entry Price ) ราคาตัดขาดทุน (Stop Loss )  ราคาเป้าหมาย (Target Price ) รวมทั้งปรับขนาดของปริมาณการซื้อปริมาณการซื้อ ขายของเรา (Volume lot size) ได้อีกด้วย โดยการคลิกขวาที่ออเดอร์ที่เราเข้าไว้ที่ Terminal (Ctrl+T)


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่ 5 : Modify Order คลิกที่รูปเพื่อขยาย







คำสั่งพวกนี้จะเหมาะมากสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดแบบ Bar By Bar แท่งต่อแท่ง สมมติว่าราคาแท่งปัจจุบันมันขึ้น ก็ เราก็รอให้มันปิดแท่งก่อน รอราคาแท่งใหม่ย่อลงมาประมาณ ครึ่งแท่ง หรือ ที่ราคาเปิดของแท่งก่อนหน้า แล้วก็ใช้คำสั่ง Buy Limit ในการเข้าออเดอร์ ซึ่งจะหลีกเลี่ยงปัญหา คำถามที่โบรกเกอร์ที่มันชอบถามว่า "คุณแน่ใจหรือ ว่าจะเข้าราคานี้ " หรือ ปัญหาการ Re-Quote  นั่นเอง


ที่มา : thaiforexschool

The Forex Quotes are Powered by Investing.com - The Leading Financial Portal.