วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คุณจะทำเงินด้วยการเทรด Forex ได้อย่างไร


 ในตลาดฟอเร็กซ์ คุณจะซื้อหรือขายสกุลเงินนั้นเป็นเรื่องที่ง่าย เครื่องมือของการเทรดคล้ายๆกันซึ่งหาได้จากตลาดอื่นๆ เช่นตลาดหุ้น ดังนั้นเมื่อคุณมีประสบการณ์ในการเทรด คุณน่าจะมีความสามารถที่จะทำกำไรได้เร็วขึ้น
   วัตถุประสงค์ของการเทรดฟอเร็กซ์คือ การแลกเปลี่ยนสกุลหนึ่งเพื่อให้ได้อีกสกุลเงินหนึ่งและคาดหวังว่าราคาจะเปลี่ยนแปลง นั้นหมายความว่า สกุลเงินที่คุณได้ซื้อจะต้องมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงิน หนึ่งที่คุณขาย
ตัวอย่างของการทำเงินจากการซื้อสกุลเงินยูโร (euros)
                                                                                                                                                                  
            Trading ‘s Action            EUR            USD
            คุณซื้อเงินยูโรจำนวน 10000 euros ในอัตราแลกเปลี่ยน 1.18            +10,000            -11,800
            สองสัปดาห์ต่อมา คุณได้ไปแลกยูโรกลับมาเป็น US ดอลล่าร์ ในอัตราแลกเปลี่ยน 1.25            -10,000            +12,500
            คุณทำกำไรได้ 700$ ภายในสองสัปดาห์            0            +700
   EUR 10,000 * 1.18= US $11,800  และ EUR10,000 * 1.25= US $12,500
อัตรา แลกเปลี่ยนอัตราส่วนง่ายของสกุลเงินหนึ่งเทียบเงินสกุลเงินอื่นๆ ตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยนของ USD/CHF บ่งชี้ว่า กี่ดอลล่าร์สหรัฐ จึงจะซื้อ 1 Swiss francs ได้ หรือ กี่ ฟรังส์สวิส จึงจะซื้อ หนึ่งดอลล่าร์ ได้
คุณจะอ่านราคา Forex ได้อย่างไร
สกุลเงินแสดงราคาเป็นคู่เสมอ เช่น GBP/USD หรือ USD/JPY เหตุผลที่แสดงราคาเป็นคู่ๆ ก็เพราะว่าในทุกๆรายการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศคุณต้องซื้อสุกลเงิน หนึ่งและขายอีกสกุลหนึ่งๆ ในเวลาเดียวกัน นี่คือตัวอย่างของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของ ค่าเงินปอนด์(GBP) เทียบกับค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ(USD)
GBP/USD=1.7500
สกุลเงินตัวแรกที่อยู่ด้านซ้ายมือของเครื่องหมาย สแลซ (Slash /) จะเรียกว่า Base Currency สกุลเงินหลัก ในตัวอย่างนี้ก็คือค่าเงินปอนด์ (GBP)  ขณะที่อีกหนึ่งตัวที่อยู่ด้านขวาของสแลซ ถูกเรียกว่า Counter หรือ quot currency ในตัวอย่างนี้ก็คือ ค่าเงินดอลล่าสหรัฐ(USD)
เมื่อคุณทำการซื้อ อัตราแลกเปลี่ยนจะบอกคุณว่า คุณจะต้องจ่ายกี่หน่วยของ quote currency เพื่อที่จะซื้อ Base currency ต่อหนึ่งหน่วย จากตัวอย่างด้านบน คุณต้องจ่าย 1.7500 ดอลล่าร์เพื่อที่จะซื้อ 1 ปอนด์
เมื่อคุณทำการขาย อัตราแลกเปลี่ยนก็จะบอกคุณว่า คุณจะจ่ายกี่หน่วยของ Quote currency เพื่อทำการขาย Base currency ต่อหนึ่งหน่วย จากตัวอย่างด้านบน คุณจะได้รับ 1.7500 U.S ดอลล่าร์ เมื่อคุณขาย 1 ปอนด์
ค่าเงินหลัก ตัวหน้า (Base currency) คือ (basis) ส่วนสำคัญ สำหรับการซื้อ หรือ ขาย ถ้าคุณซื้อ EUR/USD ความหมายง่ายๆก็คือคุณกำลังซื้อ base curency และกำลังขาย quote currency ในเวลาเดียวกัน
คุณจะซื้อคู่เงินที่คุณเชื่อว่า Base Currency จะมีอัตราราคาเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ quote currency และคุณจะเซลคู่ที่คุณคิดว่า base currency นั้นมีอัตราของราคาลดลงเมื่อเทียบกับ quote currency
Long/Shot 
ก่อนอื่น คุณต้องรู้ว่า คุณต้องการซื้อ(Buy) หรือ ว่าขาย(Sell)
ถ้าคุณต้องการที่จะซื้อ คุณต้องการให้ Base Currency มีค่ามากขึ้นแล้วคุณจะขายมันที่ราคาสูงกว่า แบบนี้เรียกว่า “going long “ หรือเรียกว่า Long position และจำไว้ว่า Long =Buy
ถ้าคุณต้องการที่จะขาย (Sell) คุณต้องการให้ราคา Base Currency ลดลง แล้วคุณจะซื้อ Buy มันกลับที่ราคาต่ำกว่าเดิม แบบนี้เรียกว่า Going Short หรือ เรียกว่า Short position  และจำไว้ว่า Short=Sell

Bid/Ask  Spread 
ในตารางแสดงราคาฟอเร็กจะประกอบด้วย Bid และ Ask ราคา Bid จะต่ำกว่าราคา Ask เสมอ
Bid คือราคาที่ Dealer กำลังจะซื้อ Base Currency ในการแลกเปลี่ยนสำหรับ Quote Currency แบบนี้หมายความว่า  Bid ก็คือราคาที่คุณจะขาย (sell) 
Ask คือราคาที่ Dealer กำลังจะขาย Base Currency ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้ Quote Currency แบบนี้หมายความว่า Ask คือราคาที่คุณจะซื้อ (Buy)
ส่วนต่างระหว่าง ราคา Bid และ Ask ส่วนใหญ่จะรู้จักกันดี หรือที่เรียกว่า Spread
   มาดูตัวอย่างของตารางแสดงราคา
                                                
            spread
            Spead bid-ask

นี่คือ ตารางแสดงราคาของคู่เงิน GBP/USD ราคาบิดคือ 1.7445 และราคา ask คือ 1.7449  ถ้าคุณต้องการที่จะ Sell  GBP คุณก็กด Sell แล้วคุณก็เซลเงินปอนด์ที่ราคา 1.7445 ถ้าคุณต้องการที่จะ Buy GBP  คุณ Click Buyแล้วคุณก็ได้บายเงินปอนด์ในราคา 1.7449  จากตัวอย่างนี้ คุณจะต้องวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจว่าจะ บาย หรือจะ เซล คู่เงินนั้นๆ ถ้าคุณรู้สึกเบื่อกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานให้คุณผ่านขึ้นตอนนี้ไปได้ เลย
EUR/USD 
ในตัวอย่างนี้ EURO เป็น Base Currency และเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการ Buy/Sell
ถ้าคุณเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐจะอ่อนค่ามากๆ ซึ่งเป็นข่าวร้ายสำหรับ US ดอลล่าร์  คุณก็ดำเนินการ Buy EUR/USD ได้ ในระหว่างคุณซื้อยูโรไปแล้วในความคาดหมายของคุณ Euro จะต้องเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ US ดอลล่า

แต่ถ้าคุณเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐดีมากๆ และยูโรอ่อนค่ามากๆเมื่อเทียบกับ ดอลล่าสหรัฐ จะดำเนินการ Sell EUR/USD ได้เลย ในระหว่างที่คุณ Sell ตามการคาดการณ์ว่า พวกเราจะต้องร่วง เมื่อเทียบกับ US ดอลล่าร์

USD/JPY 
ในตัวอย่างนี้ ค่าเงินดอลล่าสหรัฐ (USD) เป็น Base Currency และ ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการ Buy/Sell
ถ้าคุณเชื่อว่า นักลงทุนญี่ปุ่่นกำลังดึงเงินออกจากสถาบันการเงินของสหรัฐ และเปลี่ยนจาก US ดอลล่าร์เป็นค่าเงิน เยน ของพวกเราแล้ว นี่คือ สิ่งที่เลวร้ายของ US ดอลล่า คุณดำเนินการ Sell USD/JPY ได้ทันที โดยการกระทำการ Sell  US ดอลล่าร์ของคุณโดยการคาดการณ์ที่ว่า พวกเราจะต้องร่วงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนของญี่ปุ่น
GBP/USD 
ในตัวอย่างนี้ GBP เป็น Base Currency แล้วมีความสำคัญต่อการ Buy/Sell
ถ้าคุณคิดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษโตกว่าเศรษฐกิจสหรัฐ คุณก็ดำเนินการเปิดออเดอร์ Buy  ได้ การ Buy ปอนด์ โดยการคาดการณ์ที่ว่า พวกเขาต้องมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าสหรัฐ

USD/CHF 
ในตัวอย่างนี้ USD เป็น Base Currency ดังนั้นจึงมีความสำคัญในการ Buy/Sell
ถ้าคุณเชื่อว่า ฟรังค์สวิส มีค่ามากเกินไป ให้คุณเปิดออเดอร์ Buy ได้ โดยการกระทำการ Buy Us ดอลล่าร์ของคุณหวังว่าพวกเราจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อเทียบกับฟรังค์ สวิส
แต่ถ้าคุณเชื่อว่า ตลาดบ้าน สหรัฐ เกิดภาวะฟองสบู่แตกซึ่งเป็นสิงเลวร้ายสำหรับการเจริญเติบโตของเศรญฐกิจสหรัฐ ทำให้ค่าเงินดอลล่าอ่อนตัว
คุณสามารถดำเนินการเปิดออเดอร์ Sell USD/CHF ได้เลย และคาดการณ์ว่าพวกเราจะต้องร่วงเมื่อเทียบกับค่าเงิน Swiss franc
Demo Account (บัญชีเงินปลอม)
คุณสามารถเปิดบัญชีเงินปลอมได้ฟรีได้ทุกๆโบรกเกอร์ บัญชีนี้มีการบรรจุของบัญชีจริงอยู่ด้วย ทำไมถึงฟรี ก็เพราะว่า ทางโบรกเกอร์ต้องการให้คุณเรียนรู้จากภายในและภายนอกของโปรแกรมการเทรดของ พวกเขาและถ้าเป็นเวลาอันดีและไม่มีความเสี่ยง และเมื่อคุณตกหลุมรักกับโปรแกรมเทรดและระบบของเขา คุณก็ลงทุนด้วยเงินจริง บัญชีเงินปลอมนี้สามารถทำให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับตลาด Forex และสามารถทดสอบความสามารถและทักษะในการเทรดของคุณโดยไม่มีความเสี่ยง
“คุณควรที่จะเทรดบัญชีเงินปลอมก่อนอย่างน้อยหกเดือนก่อนที่คุณคิดอย่างระเอียดรอบคอบว่าจะใส่เงินจริงของคุณลงไป”



ที่มา : thaiforexschool

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Pips และ Lots

คำว่า Pip คืออะไร
โดยทั่วไป การเพิ่มขึ้นของค่าเงินนั้นจะบอกเป็น Pip ถ้า EUR/USD เคลื่อนที่จาก 1.2250 ไปที่ 1.2251 นี่คือเคลื่อนที่ไป 1 pip  PIP คือ จุดทศนิยมตัวสุดท้ายซึ่งถูกอ้างอิงจากราคาปัจจุบันของตลาด กำหนดให้มีสี่ตำแหน่งที่ใช้กัน ในบางโบรกเกอร์อาจจะมีถึงห้าตำแหน่ง  PIP เป็นสิ่งที่บอกให้คุณรู้ว่า คุณได้กำไรหรือขาดทุน
โดยแต่ละค่าเงินก็มีค่างของตัวมันเอง มันเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องคำนวนค่าของ pip สำหรับค่าเงินนั้นๆ ค่าเงินที่ USD ขึ้นก่อน สามารถคำนวณได้ดังนี้
เช่น USD/JPY อยู่ที่ ราคา 119.80(โดยส่วนมากจะมีทศนิยมสองตำแหน่ง ) ในกรณีนี้ 1 pip เท่ากับ 0.01 
ดังนั้น
USD/JPY
119.80
0.01 หารด้วย อัตราแลกเปลี่ยน = pip value
0.01/119.80 = 0.0000834
ดูเหมือนกับกว่ามีตัวเลขที่เยอะมากแต่เราจะอธิบายตัวเลขนี้ในภายหลัง
USD/CHF
1.5250
0.0001 หารด้วยอัตราแลกเปลี่ยน = pip value
0.0001/1.5250 = 0,0000655

USD/CAD
1.4890
0.0001 หารด้วยอัตราแลกเปลี่ยน = pip value
0.0001/1.48990 = 0.00006715

และในกรณีที่ US ดอลล่าร์ ไมได้อยู่เป็นตัวแรก และเราต้องการที่จะได้รับเป็นค่าของดอลล่า เราทำได้ดังนี้
EUR/USD
1.2200
0.0001 หารด้วยอัตราแลกเปลี่ยน = pips value
ดังนั้น
0.0001/1.2200 = EUR 0.00008196
แต่พวกเราต้องการทำให้เป็นหน่วย US ดอลล่าร์ เราจึงต้องคำนวนใหม่เป็น
EUR คูณ อัตราแลกเปลี่ยน
ดังนั้นจะเท่ากับ
0.00008196 * 1.2200= 0.00009999
เราปัดทศนิยมให้เป็นสี่ตำแหน่งจะได้เป็น 0.0001

GBP/USD
1.7975
0.0001 หารด้วยอัตราแลกเปลี่ยน = pip value
ดังนั้น
0.0001/1.7975 =GBP 0.0000556
แต่เราต้องการทำให้เป็นหน่วยของ US ดอลล่าร์ ซึ่งคำนวนได้ดังนี้
GBP*อัตราแลกเปลี่ยน
ดังนั้นจะได้เท่ากับ
0.0000556*1.7975=0.0000998
เราปัดเป็นทศนิยมสี่ตำแหน่งเป็น 0.0001

สำหรับค่าเหล่านี้ คุณไม่ต้องคำนวนอะไร เราอยากให้ทราบถึงที่มา ว่ามันมาอย่างไร ทั้งหมดนี้ โบรกเกอร์จัดการให้คุณแบบอัตโนมัติ  มันเป็นสิ่งที่ดีที่คุณควรจะรู้ว่ามันทำงานอย่างไร

Lots คืออะไร
ในตลาด Forex เทรดเป็นจำนวน Lots ,   ขนาดมาตรฐานสำหรับ Lot คือ 100000 units และมี Mini lot size ที่ 10000 units เมื่อคุณรู้แล้วว่า ค่าเงินนั้นวัดค่าเป็น pips ซึ่งเป็นการเพิ่มทีละน้อยของค่าเงินนั้น ซึ่งข้อดีของการเพิ่มทีละน้อย มันทำให้คุณสามารถเทรดได้จำนวนมากๆในแต่ละค่าเงินที่คุณเลือก และสามารถคำนวณกำไร ขาดทุนได้

สมมติว่าเราใช้ 100000 units (Standard size) เราจะคำนวนใหม่ให้เห็นค่าของ pip value
USD/JPY ที่อัตราแลกเปลี่ยน 119.80
(.01 / 119.80) x 100,000 = $8.34 per pip)

USD/CHF at an exchange rate of 1.4555
(.0001 / 1.4555) x 100,000 = $6.87 per pip)

EUR/USD at an exchange rate of 1.1930
(.0001 / 1.1930) X 100,000 = 8.38 x 1.1930 = $9.99734 rounded up will be $10 per pip)

GBP/USD at an exchange rate or 1.8040
(.0001 / 1.8040) x 100,000 = 5.54 x 1.8040 = 9.99416 rounded up will be $10 per pip.)

ซึ่งโบรกเกอร์ของคุณอาจจะมีข้อตกลงที่แตกต่างกันในการคำนวน pip value สัมพันธ์กับ Lot size แต่ไม่ว่าสิ่งไหนก็ตามหนทางที่พวกเขาทำ พวกเขาจะต้องแจ้งให้คุณทราบ pips value ของการเทรดของคุณที่เวลานั้นๆ เป็นเท่าไร ขณะที่ตลาดมีการเคลื่อนตัว  pip value จะขึ้นอยู่กับค่าเงินอะไร ที่คุณเทรดอยู่ ณ ปัจจุบัน

คุณสามารถคำนวนกำไรและขาดทุนได้อย่างไร
ตอนนี้คุณรู้แล้วว่าจะสามารถคำนวน Pip value ได้อย่างไร ต่อไปนี้มาดูวิธีการคำนวนกำไรและขาดทุนของคุณ

Buy USD และ Sell Swiss francs
ที่อัตราที่แสดงราคาคือ 1.4525/1.4530  เพราะว่าคุณได้  Buy US คุณจะได้ราคา 1.4530
ไม่กี่นาทีผ่านไป ราคาเคลื่อนที่ไปที่ 1.4550 และคุณตัดสินใจที่จะปิดออเดอร์ของคุณ
 ราคาที่แสดงใหม่ของ USD/CHF คือ  1.4550/1.4555
ผลต่างระหว่าง 1.4530 ถึง 1.4550 คือ 20 pips
ใช้สูตรก่อนหน้านี้ในการคำนวนจะได้
(.0001/1.4550) x 100,000 = $6.87 per pip x 20 pips = $137.40

จำไว้ว่า เมื่อคุณจะเข้าเทรด หรือออกจากการเทรด ให้คุณดูเสปรดในราคา  bid/offer(ask)


ที่มา : thaiforexschool

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Leverage คืออะไร

ความหมายง่ายๆของ เลเวอเรจ (Leverage) คือ จำนวนเปอร์เซนที่ได้ยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อทำการเปิดออเดอร์เทรด ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณซื้อ 100 หุ้นในตลาดหุ้นโดยที่ราคาหุ้นละ 10 $ ต่อหุ้น คุณต้องใช้เงิน 1000$ เพื่อเปิดการเทรด บางโบรกเกอร์ให้คุณยืมเงินเพื่อเทรดสูงถึง 50-80% ของมูลค่าหุ้นทั้งหมด แทนที่คุณจะใช้เงิน 1000$ แต่คุณกลับใช้แค่ 500 $ เท่านั้น เพื่อทำการเทรด สิ่งนี้แหระที่ทำให้เทรดเดอร์สามารถซื้อหุ้นได้มาก โดยใช้เงินเท่าเดิม อย่างไรก็ตามทางโบรกเกอร์ก็จะชาร์จกำไรจากการยืมของคุณ หลักการณ์นี้ก็น้ำมาใช้กับตลาดForex

แต่โบรกเกอร์ฟอเร็กให้คุณยืมถึง 99 % ของทั้งหมดเพื่อให้คุณเปิดการเทรดและคุณก็ใช้มันเพียงแค่ 1 % เท่านั้น ถ้าคุณต้องการเทรด 1000$ คุณใช้มันเพียงแค่ 10 $ นี่แหระครับ คือความแตกต่างระหว่างตลาดหุ้นและตลาดฟอเร็กซ์ และตลาดฟอเร็กไม่ชาร์จกำไรจากการยืมของคุณด้วย
 
เอาล่ะครับ หลายๆคนอาจจะงง เรามาดูกันเลยครับ ว่า Leverage ที่โบรกเกอร์ฟอเร็กได้กำหนดไว้มีเท่าไรบ้าง
โดยส่วนมากโบรกเกอร์จะกำหนด Leverage ตั้งแต่
Leverage              
1:1
1:2
1:10
1:100
1:200
1:400
1:500
1:1000 เฉพาะบางโบรกเกอร์ เท่านั้นเช่นโบรก Exness และ Instaforex 
ผมจะยกตัวอย่างการเทรดที่ Leverage 1:100
สมมติว่าผมต้องการซื้อ EUR ที่ 100 units ผมจะใช้เงินของผม 1  units เท่านั้นเพื่อซื้อ EUR 100 units  ถ้าซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.2750  เมื่อราคาขึ้นไปถึง 1.2800 ผลต่างของราคาเท่ากับ 50 pips  ผมพอใจแล้ว ก็ทำการขาย ผมได้กำไร 50 pips

มาดูตัวอย่างการคำนวณครับ จากหัวข้อ เรื่อง Pips และ Lot  ใครยังไม่ได้อ่านกลับไปอ่านนะครับ
(pip value / ราคาที่คุณปิด ) คูณด้วย Unit ที่คุณทำการ Buy Sell
=(0.001/1.2800)*100=0.39 $
หรือผมอาจจะคิดแบบนี้ สมมติว่า ผมต้องการซื้อ EUR ที่อัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน EUR/USD =1.2750 เป็นจำนวน 100 $ ผมจึงใช้เงินของผม 1 $ บัญชีของผมเป็น Leverage 1:100 ดังนั้นผมต้องยืมโบรกเกอร์อีก 99$  เมื่อผมซื้อแล้ว ผมจะได้ EUR มา 78.43 Euro และเมื่อราคาขึ้นไป 1.2800 ผมได้ กำไร 50 pips ผมตัดสินใจขายยูโร ที่ผมซื้อมา จะได้ 78.43*1.2800=100.39 $  นี่คือกำไรของผม
100.39 $ แต่ผมได้ยืมโบรกเกอร์มา 99 $ ทางโบรกเกอร์จะหักเงินอัตโนมัติ แล้วที่เหลือก็คือ 1.39 $ สรุปคือ ถ้าได้กำไรมา 0.39 $ จากการเทรดเงิน 1 $ เมื่อราคาเคลื่อนที่ 50 pips

แต่ปัจจุบันนี้ ทางโบรกเกอร์กำหนดให้เราแล้ว ว่า ถ้าราคาเคลื่อนที่ไป 1 pip ถ้าเราซื้อ 1 $ เราจะได้ 0.01 $ ดังนั้นจากตัวอย่างข้างบน ได้มา 50 pips ผมจะได้เงิน 0.50$

Use Margin คือ จำนวนเงินที่เราใช้เทรดในแต่ละครั้ง

ความสัมพันธ์ระหว่าง Lot , Leverage  และ Use Margin 
ประเภทของบัญชีในการเทรด Forex จะมีอยู่หลายประเภท แต่ที่หลักๆ ที่ใช้กันคือมีสามประเภทคือ
1.Standard Account
2.Mini Account
3.Micro Account
ผมจะเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง Lot , Leverage และ Use Margin ของ บัญชี Standard นะครับ

                                                                                                                                                                  
            Leverage            ความต้องการเทรด            Use Margin
            1:100            1 lot(100,000$)            1000$
            1:200            1 lot(100,000$)            500$
            1:400            1 lot(100,000$)            250$

การเทรด 1 Lot คือ การใช้ Use Margin 1000 ดอลล่า เพื่อที่จะเทรดฟอเร็กซ์ โดยใช้ Leverage 1:100  หมายความว่า คุณต้องมีเงินในบัญชีเทรดฟอเร็กซ์มากกว่า 1000 $ คุณจึงจะเทรดที่ 1 Lot ได้ และการเปลี่ยนแปลงต่อจุด ถ้าราคาเคลื่อนที่ไป 1 pips จะเท่ากับ 10 $  เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมีเงินแค่ 1000 $ แล้วคุณปล่อยให้ลบ 100 pips บัญชีของคุณก็จะโดน Margin Call ทันที ถ้าคุณไม่มี Margin โบรกเกอร์ก็จะตัดทันที
Leverage 1 :200 สิ่งที่แตกต่างของ Leverage 1:200 คือ จำนวนเงินที่ใช้เทรด Use Margin จะน้อยกว่า 1:100 แต่ การเปลี่ยนแปลงต่อ 1 pip เท่ากับ 10 $ เหมือนกัน
ไม่ว่าคุณจะเล่นที่ Leverage เท่าไร การเปลี่ยนแปลงต่อ 1 pips ก็ยังคงเท่าเดิม
ซึ่งตอนนี้บางโบรกเกอร์ สร้าง Leverage  สูงๆ ขึ้นมาเพื่อให้พวก Scalper ที่เล่นสั้นๆ ลงเงินเยอะๆ อย่างเช่น  Loeverage 1:1000 ถ้าคุณมีเงิน 1000 $ ในบัญชี คุณสามารถเทรด 5 Lot ได้ ซึ่งก็หมายความว่า คุณต้องการให้ได้กำไร 50 $ ต่อ pips แต่ถ้าราคาไม่เป็นดังที่คุณต้องการ ราคาลบไป 20 pips
พอร์ตของคุณก็จะเกลี้ยงทันที

ที่มา : thaiforexschool

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Pending Order คืออะไร

คำว่า Pending Order ผมขอทับศัพท์เลยละกันนะครับ ไม่ขอเขียนเป็นคำไทย เด๋วราชบัญฑิตให้ผมแก้ ถึงกับซวยเลย   Pending Order คือ ประเภทคำสั่งที่เราใช้เพื่อเข้าออเดอร์ แต่ไม่ใช้ ณ เวลานี้ (Marketหรือ Instant Executed) โดยประเภทของคำสั่งในโบรกเกอร์ มีหลายประเภทมาก แต่เราก็นิยมใช้กันก็คือ Instant Execution ถ้าให้ผมแปลก็คือ เข้าทันที ทันใด ณ ราคา ขณะนั้นเลย หรือภาษาบ้านๆผมก็คือ เข้าแมร่งเลย 555+  หรือบางโบรกเกอร์ อาจจะใช้คำว่า Market  อีกคำสั่งนึงที่เป็นหัวข้อของเราในวันนี้ก็คือ Pending Order ก็คือ รอเข้าในราคาที่เราคิดว่า มันจะ... ลงมาถึง  ... ขึ้นไปถึง ... ทะลุไปแล้วชน แล้ววิ่งฉลุยไปเลย หรือปะสาอังกิตหน่อย (เขียนผิดนิดนึง 555 ตั้งใจๆ ) Breakout แล้วไปเลย เป็นต้น . หรือที่ผมพูดบ่อยๆ มรึงจะรีบเข้าไปไหน รอราคามันไปถึงตรงนั้นก่อน ค่อย Buy Limit หรือ ตั้ง Sell limit สวนมันเลย  ..



คำสั่ง Pending Order มันมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ

1.คำสั่ง Limit  (อ่านว่า ลีหมิด นะครับ ไม่ใช่ ลิมิต พลาดพิงนิดนึง ) คำสั่ง Limit คือ คำสั่งที่ใช้ตั้งสวนราคา แปลง่ายๆเลยละกัน มีสองประเภท

 1.1 Buy Limit  เราจะใช้ก็ต่อเมื่อ ราคามันลง ๆๆ ลงมาเรื่อยๆ เราหาแนวรับได้แล้ว ประมาณว่า เราจะรับซื้อที่ราคานี้แหระ ก็ใช้คำสั่ง Buy Limit ได้เลยในขณะที่ราคายังไม่ถึง และอีกกรณี คือ เราเห็นราคามันขึ้น ขึ้นไปเรื่อยๆ แต่เราเข้าไม่ทันละ เราต้องคิดว่า ราคามันไม่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มันต้องย่อ ก็หาราคาที่มันจะย่อ หรือหาราคาที่จะพักตัวนั่นเอง เพื่อที่จะเข้าออเดอร์ เมื่อหาราคาย่อได้แล้ว ก็ใช้คำสั่ง Buy Limit ทันที


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่ 1 : คำสั่ง Buy Limit คลิกทีรูปเพื่อขยาย



 1.2 Sell limit  ตรงข้ามกับหัวข้อ 1.1 เลยครับ มองกลับกัน หากเราคิดว่า ราคามันขึ้นมาถึงจุดนี้ ซึ่งเป็นแนวต้าน มันเด้งลงแน่นอน เราก็ใช้คำสั่ง Sell limit ตั้งรอมันเลย อีกกรณี กราฟเป็นขาลงอยู่ ก็ต้องคิดว่า มันคงไม่ลงอย่างเดียว มันต้องขึ้นพักตัวบ้างสิ เราก็หาราคาที่กราฟเด้งพักตัว พอหาเจอแล้ว ก็ใส่คำสั่ง Sell Stop  ได้เลยครับ


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่2 : คำสั่ง Sell Limit คลิกที่รูปเพื่อขยาย





2.คำสั่ง  Stop  คำสั่ง Stop คือ คำสั่งที่ใช้ตามราคา ตามเทรน  อธิบายความหมายอาจจะไม่เข้าใจ มาดูเลยละกัน มีสองประเภท เหมือนกันครับ

 2.1 Buy Stop เราจะใช้คำสั่งนี้ก็ต่อเมื่อ  กรณีแรก เราเห็นราคามันลงๆ ลงมาๆเรื่อยๆ ที่นี้เราจะรอเข้า แต่ราคามันต้องสร้าง Uptrend ก่อน ก็คือ จุดต่ำสุดยกตัวสูงขึ้น จุดสูงสุดก็ยกตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อเรารู้ว่า มันเริ่มยกตัวสูงขึ้นแล้ว ก็ใช้จุดสูงสุดแรก เป็นจุดเข้า  Buy โดยตั้งสมมติฐานไว้ว่า ถ้าราคาทะลุ High แรกไป ออเดอร์ของเราจะเปิดทันที เราก็ตั้ง Buy Stop ไว้ที่ราคา High แรกเลย


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่3:Buy Stop คลิกที่รูปเพื่อขยาย 



 กรณีที่สอง เราเห็นกราฟขึ้นมาสร้างจุดสูงสุด แล้วมันย่อตัวลงไปพักตัว แต่เราคิดว่า ราคามันต้องขึ้นไปต่อแน่นอน เราก็ไปตั้ง Buy Stop ไว้ที่ตำแหน่ง High ถ้าราคาขึ้นมา ออเดอร์ของเราก็จะเปิดทันที

 2.2 Sell Stop คำสั่งนี้ก็ตรงข้ามกับหัวข้อ 2.1 ถ้าเราคิดว่า ราคาจะ Breakout Low เดิม ก็ใช้คำสั่ง Sell Stop ตั้งไว้ที่ Low เดิมได้เลย


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่ 4: Sell Stop คลิกที่รูปเพื่อขยาย 





Note : คำสั่ง Stop โดยส่วนใหญ่จะใช้คำสั่งนี้เพื่อเทรดแบบรอราคาทะลุ (Breakout Trading )



นอกจากนี้เรายังสามารถ แก้ไขออเดอร์ที่เราได้ตั้งไว้ (Pending Order) สามารถแก้ได้ทั้งราคาที่จะเข้า (Entry Price ) ราคาตัดขาดทุน (Stop Loss )  ราคาเป้าหมาย (Target Price ) รวมทั้งปรับขนาดของปริมาณการซื้อปริมาณการซื้อ ขายของเรา (Volume lot size) ได้อีกด้วย โดยการคลิกขวาที่ออเดอร์ที่เราเข้าไว้ที่ Terminal (Ctrl+T)


   
      
         
      
      
         
      
   

            

            รูปที่ 5 : Modify Order คลิกที่รูปเพื่อขยาย







คำสั่งพวกนี้จะเหมาะมากสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดแบบ Bar By Bar แท่งต่อแท่ง สมมติว่าราคาแท่งปัจจุบันมันขึ้น ก็ เราก็รอให้มันปิดแท่งก่อน รอราคาแท่งใหม่ย่อลงมาประมาณ ครึ่งแท่ง หรือ ที่ราคาเปิดของแท่งก่อนหน้า แล้วก็ใช้คำสั่ง Buy Limit ในการเข้าออเดอร์ ซึ่งจะหลีกเลี่ยงปัญหา คำถามที่โบรกเกอร์ที่มันชอบถามว่า "คุณแน่ใจหรือ ว่าจะเข้าราคานี้ " หรือ ปัญหาการ Re-Quote  นั่นเอง


ที่มา : thaiforexschool

The Forex Quotes are Powered by Investing.com - The Leading Financial Portal.